วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

น้ำมะกรูด สูตรข้างครัว

      น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว



 
นางสาวบุณยนุช       สุนทร

นางสาวรัชฏาภรณ์       มีฤทธิ์








โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี  เพื่อการศึกษา

ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557
                               มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
 


                       




บทคัดย่อ


โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำมะกรูด  สูตรข้างครัว
ประเภทโครงงาน การทดลอง
จัดทำโดย

จัดทำโดย     1. นางสาวบุณยนุช     สุนทร
                 2.
นางสาวรัชฏาภรณ์     มีฤทธิ์                
อาจารย์ที่ปรึกษา ว่าที่ ร.. บุญโต นาดี


บทคัดย่อ
          มะกรูด  เป็นสมุนไพรที่อยู่ในบ้านของทุกคน  และหาได้ง่ายในบ้านของเราซึ่งมะกรูดสามารถรับประทานได้ทั้งใบและ ผล  เราจึงอยากนำมะกรูดมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

          จากการศึกษาและค้นคว้าด้วยการทำโครงงานทดลองพบว่า  มีข้อมูลที่น่าสนใจ  คือสารที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะสำคัญในการขจัด สารพิษมากมาย  ซึ่งสารที่ว่านี้ได้มาจากมะกรูด

          โครงงาน  น้ำมะกรูดสูตรข้างครัว  มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน  โดยนำมะกรูดมาแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร  ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  และยังเป็นการนำ    สิ่งที่หาได้ง่ายภายในบ้านมาใช้ให้เป็นประโยชน์  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสามัคคี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  แก่คนในกลุ่มอีกด้วย
 

กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

          คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณป้าสุนีย์  สมบูรณ์โชคดี ที่ให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีการทำน้ำมะกรูดสมุนไพร  ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างละเอียด ด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง  ขอบพระคุณ อาจารย์ ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน  อำนวยความสะดวกจัดหาอุปกรณ์  อุทิศเวลา  และเป็นที่ปรึกษาโครงงาน  โดยเฉพาะการนำเสนอที่ถูกต้อง
         


     นางสาวบุณยนุช             สุนทร
นางสาวรัชฏาภรณ์         มีฤทธิ์ 

บทที่ 1

   บทที่  1
 บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          เนื่องจากมะกรูดเป็นสมุนไพรที่หาง่ายในบ้าน  และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  เราจึงคิดนำผลมะกรูดมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร  ที่ง่ายต่อการรับประทาน  และสามารถทำกินเองได้ภายในครอบครัว


วัตถุประสงค์ของการการศึกษา
          1.  เพื่อแปรรูปสมุนไพรให้ง่ายต่อการรับประทานยิ่งขึ้น
          2.  เพื่อศึกษาวิธีทำเครื่องดื่มง่ายๆ  จากสมุนไพรใกล้ตัว

สมมติฐานการศึกษา
          สามารถนำมะกรูดมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรที่ง่ายต่อการดื่ม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          1.  ได้รับความรู้จากการทำน้ำมะกรูด
          2.  ได้รับประโยชนจากการทำน้ำมะกรูด
          3.  ฝึกฝนความอดทน
          4.  ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค
                   
 
 

บทที่ 2

บทที่  2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง



มะกรูด                   (Ma-krut) , Kaffir lime , leech  lime
ชื่อวิทยาศาสตร์       Citrus  hystrix  DC.
วงศ์                       RUTACEAR
ถิ่นกำเนิด               มาเลยเซีย  พม่า  ไทย  อินโดนีเซีย  สิงคโปร์  ฟิลิปปินส์  อินเดีย
          ไม้พุ่มขนาดใหญ่  ลำต้นเกลี้ยงเกลากิ่งก้านมีหนามแหลม  ใบสีเขียวหนา  มีกลิ่นหอมฉุน  มีน้ำมันหอมระเหย  ออกดอกเป็นช่อสีเขียวมีนวลเหลืองบ้าง  ลูกกลมผิวหนาขรุขระ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
                ใบ   -  มีน้ำมันหอมระเหย  ใช้ประกอบอาหาร
                ผล   -  ใช้แต่งกลิ่น  สระผม
                ผิวจากลูก   -   บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้  แก้แน่น
                ราก   -   ถอนพิษ  แก้ปวดท้อง  แก้พิษฝีภายใน
               ลูกมะกรูด   -   หมักดองเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม  รับประทานฟอกล้างและบำรุงโลหิต
ชื่อท้องถิ่น             
               ภาคเหนือ   เรียก   มะขูด , มะขุน
               ภาคใต้  เรียก   ส้มกรูด , ส้มมั่วผี
               เขมร   เรียก   โกร้ยเขียด
               กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน เรียก มะขู

ลักษณะทั่วไป

  มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน  ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดียว  สีเขียวหนา  มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ  มีก้าน แผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ  ทำให้เห็นใบเป็น  2 ตอน  ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา  มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่  ดอก  ออกเป็นกระจุก  3 - 5 ดอก  กลีบดอกสีขาว  ร่วงง่าย  ผลมีหลายแบบแล้วแต่พันธ์ผลเล็กเท่ามะนาว  ผิวขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่หัว 

การปลูก  มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด  ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด 

สรรพคุณทางยา
          1.   ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน  บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู
          2.   ผล รสเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต ใช้สระผมทำให้ผมดกดำ ขจัดรังแค
          3.   ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด
          4.   น้ำมะกรูด รสเปรี้ยว กัดเสมหะ ใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
          5.   ใบ  รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน และดับกลิ่นคาว
คติความเชื่อ  
          มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน  โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  (พายัพ)  เพื่อผู้อยู่อาศัยจะได้มีความสุข  และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า  ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม  โคหรือกระบือเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ  จะหยุดเดิน  เจ้าของจะต้องขุดผิวมะนาวหรือมะกรูด  ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน  โค  กระบือ  จึงจะเดินต่อไป  ดังนั้นการเดินทางสมัยก่อนผ่านป่า  ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาวและมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ  ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์  สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ ได้  โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย  ใบเงินใบทอง  ใบมะตูม  หญ้าแพรก  หมากผู้หมากเมีย  ในราชพฤกษ์เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โดยตกลงไปได้ใบมะกรูดมหัศจรรย์กำจัดแมลงในข้าวสารผลมะกรูด รักษาชันนะตุและแผลบนศีรษะด้วยมะกรูดได้ใช้น้ำคั้น
ที่ได้จากผลมะกรูดหรือนำผลมะกรูดเผาไฟผ่าซีกบีบเอาน้ำและน้ำมันจากผิวมะกรูด  ผสมน้ำ  1 เท่า  ใช้สระผมแทนแชมพู  แล้วลาดออก  


 
 

บทที่ 3

บทที่  3
วิธีการดำเนินโครงงาน 


ตารางปฎิบัติกิจกรรมโครงงาน 1-9 พฤศจิกายน 2557



เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
   อุปกรณ์
            1.  เครื่องปั่นน้ำผลไม้
             2.  แก้ว
             3.  หลอด
             4.  ช้อนชา






วัสดุ
             1.  มะกรูด
             2.  เกลือกป่น
             3.  น้ำเชื่อม
             4.  น้ำแข็งปั่น
             5.  น้ำ


วิธีการศึกษา 

1.      ศึกษาจากวิทยากรท้องถิ่น  โดยการสอบถาม 
     1.คุณป้าสุนีย์  สมูบรณ์โชคดี 
     2.คุณลุง เกรียติศักดิ์ โกฏิรักษ์
     3.คุณสุภาพร ภูมิ่งเดือน
     4.คุณสิรยา ภูสมพงษ์
     5.คุณปวีณา ศรีวรรณา
     6.คุณกนกวรรณ ภูตาบนาค
     7.คุณเกวลี ดอนบุรี
     8.คุณดาว ภูตาบนาค
     9.คุณนภาพร ภูละมุล
     10.คุณกุลณัฐ พงษ์งาม
  
 

ที่ตั้งหมู่ 2  ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์  33150
2.  ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง  และคำบอกเล่าของผู้รู้
3. ประเด็นการศึกษา

     -  ได้รู้ถึงสรรพคุณของมะกรูด
     -  ได้รู้วิธีในการทำน้ำมะกรูด

ผลการศึกษา
    1.  ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
    2.  ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำมะกรูด

         
  


บทที่ 4

บทที่  4

ผลการศึกษา

1.  ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
2.  ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำมะกรูด

บทที่ 5


บทที่  5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
            การศึกษาการทำน้ำมะกรูด  เป็นการนำสิ่งที่ใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  เป็นการฝึกให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  เพื่อที่จะนำมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
            1.  ได้ศึกษาการทำน้ำมะกรูด
            2.  ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
            3.  นำมาพัฒนาให้เกิดรายได้

ข้อเสนอแนะ
            จากการศึกษาโครงงานการทำน้ำมะกรูด  สามารถพัฒนาให้เป็นอาชีพเสริมได
บัญชีรายรับ – รายจ่าย

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม
         
น้ำผลไม้และเครื่องดื่มผสม.  ครั้งที่ 3.  กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แสงแดด ,  2548. 128 หน้า
       ที่ตั้งหมู่ 2  ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์  33150